จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  9
วันที่  24  ตุลาคม  2559

*******หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช********

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  8
วันที่  17  ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • วิธีการของครูที่จะส่งผลให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้


  1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  2. สื่อในการเรียนการสอนต้องหลากหลาย และน่าสนใจ
  3. กระตุ้นเด็กด้วยคำถาม
  4. ผลงานของเด็กทุกคนครูควรให้เด็กได้นำเสนอครบทุกคน

  • กิจกรรมประดิษฐ์สื่อสร้างสรรค์จากรูปทรงเรขาคณิต

วิธีดำเนินงาน

  1. แบ่งกลุ่ม  10  คน
  2. ให้ออกแบบรูปจากรูปทรงเรขาคณิต(โดยในกลุ่มไม่ซ้ำกัน)
  3. ระบายสีให้สวยงามตัดแปะลงบนกระดาษขนาดใหญ่
  4. จากนั้นวากรูปเรขาคณิตลงบนกระดาษแข็งเพื่อนำมาประกอบเป็นสื่อ
  5. นำรูปภาพและชิ้นส่วนที่ตัดไว้ได้มาสร้างสรรค์เป็นสื่อ 

โดยกลุ่มของดิฉันได้ประดิษฐ์เป็น  "สื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษ"

 












ภาพรูปทรงที่ตัดไว้

ภาพภาชนะใส่คำศัพท์
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์หรือคิดออกแบบสิ่งต่างๆที่แปลกใหม่ได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและทำงานเสร็จทันเวลา
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือกับงานกลุ่มเป็นอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้แนวทางการคิดได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  7
วันที่  10 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • ประกอบด้วยความคิดสร้างสรรค์

 1. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม

2. ความคิดคล่องแคล่ว  หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก  เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด  เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นาที

3. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

4. ความคิดละเอียดละออ  หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

  • การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  หน่วยแมลง

โดยกิจกรรมนี้จะแบ่งออกเป็นฐาน  ทั้งหมด  4  ฐานดังนี้
ฐานที่ 1 เป่าสี
ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ
ฐานที่ 3 พิมพ์ภาพผีเสื้อ
ฐานที่ 4 ประดิษฐ์แมลงไต่
ฐานที่ 1 เป่าสี




ฐานที่  1  เป่าสี  เป็นการเป่าสีที่ผสมน้ำยาล้างจานให้เป็นฟองแล้วให้ฟองแตกลงบนกระดาษ
เป็นรูปตามใจชอบและเมื่อสีซ้อนทับกันจะผสมให้เกิดสีใหม่  เช่นสีแดง + สีน้ำเงิน =  สีม่วง

ฐานที่ 2 ประดิษฐ์สิ่งของวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ


ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ  เป็นฐานที่ให้นำจานกระดาษ
มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใดก็ได้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาจจะเป็นของเล่นหรือสื่อการสอน  
โดยผลงานที่ทำคือภาพทะเลแบบตั้งได้  ซึ่งสามารถนำมาสอนเกี่ยวกับเรื่อง  ลมบก  ลมทะเลได้

ฐานที่ 3 พิมพ์ภาพผีเสื้อ


ฐานที่ 3 พิมพ์ภาพผีเสื้อ  โดยใช้สีทางที่มือทั้งสองข้างแล้วพิมพ์ลงบนกระดาษ  
จากนั้นนำสีเทียนหรือปากกาเมจิกมาระบายเติมเต็มให้เปนผีเสื้อแล้วตัด  จากนั้นพับครึ่งแล้ว
นำกระดาษตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมาติดเมื่อเวลาดังกระดาษจะทำให้เหมือนว่าผีเสื้อบินได้

ฐานที่ 4 ประดิษฐ์แมลงไต่


ฐานที่ 4 ประดิษฐ์แมลงไต่  เป็นการประดิษฐ์ของเล่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้เมื่อเราดึงเชือก
ขึ้นลงไปมาทั้งสองข้าง  เมื่อทำเสร็จแล้วช่วงแรกยังงงว่าจะทำอย่างไรให้มันเคลื่อนที่ได้เร็วๆ  แต่พอได้ลองทำก็ค้นพบวิธีที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้เช่นวิชา  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  สนุกสนานมีความตั้งใจและทำงานได้เสร็จตรงเวลา
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจทำงาสนเ็นอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  มีการเตรียมอุปกรณ์มาอย่างดีและเป็นการสอนที่ทำให้ได้ฝึกคิดและแก้ปัญหา

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  6
วันที่  3  ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนอการเรียนการสอนแบบ STEAM 
โดยให้แต่ละหน่วยเลือก  1  กิจกรรมมาจัดแก่เพื่อนในชั้นเรียนมีทั้งหมด  5  หน่วยดังนี้

  1. หน่วยยานพาหนะ
  2. หน่วยปลา
  3. หน่วยไข่
  4. หน่วยข้าว
  5. หน่วยบ้าน
          วิธีดำเนินการ
  1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
  2. แนะนำอุปกรณ์และจำนวนที่ต้องใช้ต่อคน
  3. แนะนำกิจกรรมขั้นตอนการทำ
  4. ให้เด็กออกมารับอุปกรณ์
  5. ให้เด็กทำกิจกรรมโดยครูต้องดูและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
**กิจกรรมที่ต้องประดิษฐ์ครูควรมีตัวอย่างให้เด็กดู


หน่วย ยานพาหนะ
กิจกรรมสร้างถนนจากดินน้ำมัน
SEAM  :  Engineering, Art, Mathematic



หน่วยปลา
กิจกรรม สร้างบ่อปลาจากดินน้ำมัน
SEAM  :  Engineering, Art, Mathematic



หน่วย ไข่
กิจกรรม ระบายสี Anotomy ไข่
SEAM  :  Science, Art, Math

หน่วยข้าว1
กิจกรรม วาดรูประบายสีท้องนา
SEAM  :  Art,Engineering



หน่วยข้าว (2)
กิจกรรม วาดรูประบายสีท้องนา
SEAM  :  Art



หน่วย บ้าน
กิจกรรม วาดรูประบายสีบ้าน
SEAM  :  Engineering, Art, Math


         สรุปการนำเสนอกิจกรรม
การนำเสนอกิจกรรมที่บูรณาการ  STEAM  ผ่านกิจกรรมการสอนทำให้เกิดความเข้าใจในวิธีการจัดและวิธีการบูรณาการ  โดยรวมทุกกลุ่มสามารถสอนและนำเสนอกิจกรรมของตนเองได้เป็นอย่างดี

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำเทคนิควิธีการสอนวิธีการบูรณาการSTEAMไปใช้กับรายวิชาอื่นได้ด้วย
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือและตั้งใจทำกิจกรรมที่เพื่อนสอนเป็นอย่างดี
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทุกคนมีความตั้งใจ  และนำเสนอกิจกรรมได้อย่างดีเยียม
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมและให้คำแนะนำเป็นอย่างดี