จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  14
วันที่  30  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • ส่งใบปั้มบันทึกการเข้าเรียน
  • มอบรางวัลเด็กดี
  • แจกสีเมจิก
  • พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอนพร้อมทั้งให้คำแนะนำ


การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำข้อคิดต่างๆไปปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นในเทอมต่อๆไป
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ลืมเอาใบปั้มมาส่งอาจารย์
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และได้รางวัลเด็กดีกันหลายคน
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำต่างๆเป็นอย่างดีทั้งในวิชาสร้างสรรค์และในวิชาอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  13
วันที่  21  พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • ร้องเพลงเพื่อแบ่งกลุ่มเด็ก
  • การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน
โดยให้แบ่งกลุ่มแล้วช่วยกันแต่งนิทานเพื่อนำมาแสดงหน้าชั้นเรียน

          นิทานเรื่อง  ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
  1. ก้อนเมฆ
  2. ดวงอาทิตย์
  3. ลม
เนื้อเรื่อง
  1. ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข 
  2. ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า “พระอาทิตย์ตื่นได้”แล้ว
  3. จากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน 
  4. ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไป
  5. ลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด“ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้า” 
  6. จากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ “เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน” 
  7. ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!)
  8. สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ 
  9. พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ “ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก”


แนวคิดของนิทานเรื่องนี้ : ความสามัคคี และการช่วยเหลือกัน จะนำไปสู่ความสำเร็จ
  • รูปแบบการแสดงนิทานมี 3  แบบดังนี้
  1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
  2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
  3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
****นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำไปใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆได้
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มเป็นอย่างดี
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆสนุกสนานและมีความตั้งใจอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่นและสนุกสนาน

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  12
วันที่ 14  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
องค์ประกอบมี4ข้อดังนี้
  1. ร่างกาย
  2. พื้นที่
  3. ระดับ
  4. ทิศทาง
รูปแบบเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 2 แบบ
  1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด  การสไลด์
  2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การตบมือ การผงกศีรษะ  การบิดตัว
กิจกรรมของการเคลื่อนไหว
  1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
  2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
  3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง 
  4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
  5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
  6. เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
  • เคลื่อนไหวพื้นฐาน
คุณครูกำหนดสัญญาณ
ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
  • เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
ถ้าคุณครูพูดว่า “ท้องฟ้า” ให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
ถ้าคุณครูพูดว่า “ป่าไม้” ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
ถ้าคุณครูพูดว่า “ทะเล” ให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
ถ้าคุณครูพูดว่า “รู” ให้เด็กๆทำท่างูเลื่อยไปที่มุมรู
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การนวดตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน ขาและเท้า




คำแนะนำการจัดกิจกรรม
  1. ในการเคาะจังหวะครูต้องเคาะอย่างชัดเจนเว้นวรรคจังหวะให้ดี
  2. ครูต้องสร้างข้อตกลงให้เด็กเข้าใจก่อนเริ่มทำกิจกรรม
  • ส่งสิ่งประดิษฐ์ที่แก้ไขแล้ว
ภาพตราชั่งที่ได้แก้ไขแล้ว

ภาพตราชั่งดั่งเดิม

***งานสิ่งประดิษฐ์ได้ปรับปรุงโดยใช้ขวดที่มขนาดใหญ่ขึ้นและ
ได้เปลียนรูปแบบเป็นตราชั่งแบบแขวนได้เพื่อสามารถเล่นได้สะดวกขึ้น
หรืออาจจะใช้ไปตกแต่งในมุมของคณิตศาสตร์ได้
การนำไปประยุกต์ใช้
  • การรู้จักนำเอาความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์กับวิชาอื่นๆ
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  วันนี้เป็นผู้สอนดำเนินกิจกรรมมีความตื่นเต้นและสับสนอยู่บ้าง
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีตั้งใจช่วยกันแก้ปัญหาแก้ข้อบกพร่อง
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำอย่างละเอียดอาจมีเข้าใจยากบ้างในบางขั้นตอน

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  11
วันที่  7  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนอการประดิษฐ์ตราชั่งจากวัสดุเหลือใช้

วัสดุอุปกรณ์

  1. กระดาษลัง
  2. ดินสอ
  3. ปืนกาว
  4. ขวดน้ำ
  5. ตะเกียบ
  6. ไหมพรม
  7. กรรไกน

วิธีทำ

  1. วาดแบบตราชั่งที่ต้องการลงบนกระดาษลังโดยทุกด้านต้องเสมอและเท่ากัน
  2. ตัดตามรูปแล้วนำกระดาษที่ได้มาประกอบโดยกาวแล้วติดลงบนฐานเพื่อความแน่นหนา
  3. วัดหากึ่งกลางแล้วเจาะรูเพื่อเสียบไม้ตะเกียบ
  4. นำขวดมาตัดเอาเฉพาะก้นขวดแล้วติดไหมพรมเพื่อแขวนเป็นจานชั่ง
  5. นำการชั่งติดกับตะเกียบให้สมดุลเป็นอันเสร็จ



ภาพตราชั่ง
ผลการนำเสนอ
  • สิ่งประดิษฐ์มีความแข็งแร็งมั่งคง  สีสันมีความสวยงามน่าสนใจแต่มีขนาดเล็กเกินไปน่าจะใช้ขวดที่ขนาดใหญ่กว่านี้
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงเก็บของเล่นเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีการเตรียมตัวมาพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน
  • ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจดีและเตรียมสิ่งของมาพร้อม
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  10
วันที่  31 ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การบูรณาการ
          บูรณาการ คือ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ ตามเป้าหมายคือ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย

          ประโยชน์ของการบูรณาการ  คือ  เป็นการช่วยให้เด็กสามารถนำเอาการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  • ประดิษฐ์สื่อจากวัสดุเหลือใช้
วิธีดำเนินการ

  1. แบ่งกลุ่มออกเป็น10คน
  2. เลือกวัสดุที่จะมาประดิษฐ์
  3. หาแบบหรือคิดสิ่งจะประดิษฐ์โดยแต่ละคนในกลุ่มสิ่งประดิษฐ์จะไม่เหมือนกัน
ภาพรายชื่อสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน  "กลุ่มขวดพลาสติก"
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของให้เกิดให้ประโยชน์ได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและได้ใช้ความคิดในการทำ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจทำงาน
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำอยู่เสมอ

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  9
วันที่  24  ตุลาคม  2559

*******หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช********

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  8
วันที่  17  ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • วิธีการของครูที่จะส่งผลให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้


  1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  2. สื่อในการเรียนการสอนต้องหลากหลาย และน่าสนใจ
  3. กระตุ้นเด็กด้วยคำถาม
  4. ผลงานของเด็กทุกคนครูควรให้เด็กได้นำเสนอครบทุกคน

  • กิจกรรมประดิษฐ์สื่อสร้างสรรค์จากรูปทรงเรขาคณิต

วิธีดำเนินงาน

  1. แบ่งกลุ่ม  10  คน
  2. ให้ออกแบบรูปจากรูปทรงเรขาคณิต(โดยในกลุ่มไม่ซ้ำกัน)
  3. ระบายสีให้สวยงามตัดแปะลงบนกระดาษขนาดใหญ่
  4. จากนั้นวากรูปเรขาคณิตลงบนกระดาษแข็งเพื่อนำมาประกอบเป็นสื่อ
  5. นำรูปภาพและชิ้นส่วนที่ตัดไว้ได้มาสร้างสรรค์เป็นสื่อ 

โดยกลุ่มของดิฉันได้ประดิษฐ์เป็น  "สื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษ"

 












ภาพรูปทรงที่ตัดไว้

ภาพภาชนะใส่คำศัพท์
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์หรือคิดออกแบบสิ่งต่างๆที่แปลกใหม่ได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและทำงานเสร็จทันเวลา
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือกับงานกลุ่มเป็นอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้แนวทางการคิดได้เป็นอย่างดี