จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  14
วันที่  30  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • ส่งใบปั้มบันทึกการเข้าเรียน
  • มอบรางวัลเด็กดี
  • แจกสีเมจิก
  • พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอนพร้อมทั้งให้คำแนะนำ


การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำข้อคิดต่างๆไปปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นในเทอมต่อๆไป
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ลืมเอาใบปั้มมาส่งอาจารย์
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์และได้รางวัลเด็กดีกันหลายคน
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำต่างๆเป็นอย่างดีทั้งในวิชาสร้างสรรค์และในวิชาอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  13
วันที่  21  พฤศจิกายน 2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • ร้องเพลงเพื่อแบ่งกลุ่มเด็ก
  • การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์ผ่านนิทาน
โดยให้แบ่งกลุ่มแล้วช่วยกันแต่งนิทานเพื่อนำมาแสดงหน้าชั้นเรียน

          นิทานเรื่อง  ก้อนเมฆเพื่อนรัก
ตัวละคร
  1. ก้อนเมฆ
  2. ดวงอาทิตย์
  3. ลม
เนื้อเรื่อง
  1. ยามเช้าตรู่พระอาทิตย์กำลังหลับใหลอยู่ในภวังค์อย่างมีความสุข 
  2. ทันใดนั้นก้อนเมฆแสนซนก็ตื่นขึ้น ก้อนเมฆพูดว่า “พระอาทิตย์ตื่นได้”แล้ว
  3. จากนั้นพระอาทิตย์ค่อยๆเปล่งแสงสีทองประกายขึ้นในยามเช้า (ร้องเพลงพระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง) พระอาทิตย์กับก้อนเมฆออกไปเที่ยวเล่นกันบนท้องฟ้าอย่างสนุกสนาน 
  4. ทันใดนั้นเองเจ้าลมบ้าพลังจอมเกเรก็ไปก่อกวนพระอาทิตย์และจับตัวพระอาทิตย์ไป
  5. ลมบ้าพลังจอมเกเกเรพูด“ในที่สุดพระอาทิตย์ก็เป็นของข้า” 
  6. จากนั้นก้อนเมฆจึงรวมตัวกันไปช่วยพระอาทิตย์ “เราไปช่วยพระอาทิตย์กัน” 
  7. ก้อนเมฆค่อยๆ แปลงร่างรวมตัวกันเป็นฝนขับไล่ลมออกไป (ซู่ๆไปซะเจ้าลมจอมเกเร!!)
  8. สุดท้ายก้อนเมฆก็ช่วยพระอาทิตย์ออกมาจากเจ้าลมบ้าพลังได้ 
  9. พระอาทิตย์จึงพูดขอบคุณก้อนเมฆ “ขอบใจมากนะก้อนเมฆเพื่อนรัก”


แนวคิดของนิทานเรื่องนี้ : ความสามัคคี และการช่วยเหลือกัน จะนำไปสู่ความสำเร็จ
  • รูปแบบการแสดงนิทานมี 3  แบบดังนี้
  1. นิทานที่ไม่มีคำบรรยาย ผู้แสดงเป็นคนพูดเอง
  2. นิทานที่บรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วย
  3. นิทานที่บรรยายอย่างเดียว
****นิทานที่มีการบรรยายด้วย ผู้แสดงพูดด้วยเป็นวิธีที่ดีที่สุด

การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำไปใช้ในการทำกิจกรรมอื่นๆได้
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในกลุ่มเป็นอย่างดี
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆสนุกสนานและมีความตั้งใจอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่นและสนุกสนาน

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  12
วันที่ 14  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ
  • กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
องค์ประกอบมี4ข้อดังนี้
  1. ร่างกาย
  2. พื้นที่
  3. ระดับ
  4. ทิศทาง
รูปแบบเคลื่อนไหวแบ่งออกเป็น 2 แบบ
  1. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด  การสไลด์
  2. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การตบมือ การผงกศีรษะ  การบิดตัว
กิจกรรมของการเคลื่อนไหว
  1. เคลื่อนไหวประกอบเพลง
  2. เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
  3. เคลื่อนไหวตามคำสั่ง 
  4. เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
  5. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง
  6. เคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวโดยใช้ความจำ
  • เคลื่อนไหวพื้นฐาน
คุณครูกำหนดสัญญาณ
ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 1 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆ เดิน 2 ก้าว
ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กๆเคลื่อนที่ไปรอบๆห้อง
ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
  • เคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา
ถ้าคุณครูพูดว่า “ท้องฟ้า” ให้เด็กๆทำท่านกบินไปมุมท้องฟ้า
ถ้าคุณครูพูดว่า “ป่าไม้” ให้เด็กๆทำท่าช้างเดินไปที่มุมป่าไม้
ถ้าคุณครูพูดว่า “ทะเล” ให้เด็กๆทำท่าปลาว่ายไปที่มุมทะเล
ถ้าคุณครูพูดว่า “รู” ให้เด็กๆทำท่างูเลื่อยไปที่มุมรู
  • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
การนวดตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ แขน ขาและเท้า




คำแนะนำการจัดกิจกรรม
  1. ในการเคาะจังหวะครูต้องเคาะอย่างชัดเจนเว้นวรรคจังหวะให้ดี
  2. ครูต้องสร้างข้อตกลงให้เด็กเข้าใจก่อนเริ่มทำกิจกรรม
  • ส่งสิ่งประดิษฐ์ที่แก้ไขแล้ว
ภาพตราชั่งที่ได้แก้ไขแล้ว

ภาพตราชั่งดั่งเดิม

***งานสิ่งประดิษฐ์ได้ปรับปรุงโดยใช้ขวดที่มขนาดใหญ่ขึ้นและ
ได้เปลียนรูปแบบเป็นตราชั่งแบบแขวนได้เพื่อสามารถเล่นได้สะดวกขึ้น
หรืออาจจะใช้ไปตกแต่งในมุมของคณิตศาสตร์ได้
การนำไปประยุกต์ใช้
  • การรู้จักนำเอาความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์กับวิชาอื่นๆ
การประเมินผล
  • ประเมินตนเอง  วันนี้เป็นผู้สอนดำเนินกิจกรรมมีความตื่นเต้นและสับสนอยู่บ้าง
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีตั้งใจช่วยกันแก้ปัญหาแก้ข้อบกพร่อง
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำอย่างละเอียดอาจมีเข้าใจยากบ้างในบางขั้นตอน

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  11
วันที่  7  พฤศจิกายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนอการประดิษฐ์ตราชั่งจากวัสดุเหลือใช้

วัสดุอุปกรณ์

  1. กระดาษลัง
  2. ดินสอ
  3. ปืนกาว
  4. ขวดน้ำ
  5. ตะเกียบ
  6. ไหมพรม
  7. กรรไกน

วิธีทำ

  1. วาดแบบตราชั่งที่ต้องการลงบนกระดาษลังโดยทุกด้านต้องเสมอและเท่ากัน
  2. ตัดตามรูปแล้วนำกระดาษที่ได้มาประกอบโดยกาวแล้วติดลงบนฐานเพื่อความแน่นหนา
  3. วัดหากึ่งกลางแล้วเจาะรูเพื่อเสียบไม้ตะเกียบ
  4. นำขวดมาตัดเอาเฉพาะก้นขวดแล้วติดไหมพรมเพื่อแขวนเป็นจานชั่ง
  5. นำการชั่งติดกับตะเกียบให้สมดุลเป็นอันเสร็จ



ภาพตราชั่ง
ผลการนำเสนอ
  • สิ่งประดิษฐ์มีความแข็งแร็งมั่งคง  สีสันมีความสวยงามน่าสนใจแต่มีขนาดเล็กเกินไปน่าจะใช้ขวดที่ขนาดใหญ่กว่านี้
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำเอาความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงเก็บของเล่นเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีการเตรียมตัวมาพร้อมที่จะนำเสนอผลงาน
  • ประเมินเพื่อน  มีความตั้งใจดีและเตรียมสิ่งของมาพร้อม
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  10
วันที่  31 ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • การบูรณาการ
          บูรณาการ คือ การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน มีลักษณะเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ ตามเป้าหมายคือ ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพราะเป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  เด็กได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย

          ประโยชน์ของการบูรณาการ  คือ  เป็นการช่วยให้เด็กสามารถนำเอาการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

  • ประดิษฐ์สื่อจากวัสดุเหลือใช้
วิธีดำเนินการ

  1. แบ่งกลุ่มออกเป็น10คน
  2. เลือกวัสดุที่จะมาประดิษฐ์
  3. หาแบบหรือคิดสิ่งจะประดิษฐ์โดยแต่ละคนในกลุ่มสิ่งประดิษฐ์จะไม่เหมือนกัน
ภาพรายชื่อสิ่งประดิษฐ์ของแต่ละคน  "กลุ่มขวดพลาสติก"
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของให้เกิดให้ประโยชน์ได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและได้ใช้ความคิดในการทำ
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนตั้งใจทำงาน
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนคอยให้คำปรึกษาและคำแนะนำอยู่เสมอ

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  9
วันที่  24  ตุลาคม  2559

*******หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช********

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  8
วันที่  17  ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • วิธีการของครูที่จะส่งผลให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้


  1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่หลากหลาย
  2. สื่อในการเรียนการสอนต้องหลากหลาย และน่าสนใจ
  3. กระตุ้นเด็กด้วยคำถาม
  4. ผลงานของเด็กทุกคนครูควรให้เด็กได้นำเสนอครบทุกคน

  • กิจกรรมประดิษฐ์สื่อสร้างสรรค์จากรูปทรงเรขาคณิต

วิธีดำเนินงาน

  1. แบ่งกลุ่ม  10  คน
  2. ให้ออกแบบรูปจากรูปทรงเรขาคณิต(โดยในกลุ่มไม่ซ้ำกัน)
  3. ระบายสีให้สวยงามตัดแปะลงบนกระดาษขนาดใหญ่
  4. จากนั้นวากรูปเรขาคณิตลงบนกระดาษแข็งเพื่อนำมาประกอบเป็นสื่อ
  5. นำรูปภาพและชิ้นส่วนที่ตัดไว้ได้มาสร้างสรรค์เป็นสื่อ 

โดยกลุ่มของดิฉันได้ประดิษฐ์เป็น  "สื่อคำศัพท์ภาษาอังกฤษ"

 












ภาพรูปทรงที่ตัดไว้

ภาพภาชนะใส่คำศัพท์
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์หรือคิดออกแบบสิ่งต่างๆที่แปลกใหม่ได้
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  มีความตั้งใจและทำงานเสร็จทันเวลา
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือกับงานกลุ่มเป็นอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้แนวทางการคิดได้เป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  7
วันที่  10 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • ประกอบด้วยความคิดสร้างสรรค์

 1. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่มอาจเป็นการนำเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม

2. ความคิดคล่องแคล่ว  หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
              2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยคำ เป็นความสามารถในการใช้ถ้อยคำอย่างคล่องแคล่ว
              2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ เป็นความสามารถที่จะคิดหาถ้อยคำที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่กำหนด
              2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก  เป็นความสามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะนำคำมาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประโยคที่ต้องการ
              2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด  เป็นความสามารถที่จะคิดค้นสิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นาที

3. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น
               3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่าประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทางหรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น
              3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้ หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลายๆ ด้าน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ้ำกัน

4. ความคิดละเอียดละออ  หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

  • การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  หน่วยแมลง

โดยกิจกรรมนี้จะแบ่งออกเป็นฐาน  ทั้งหมด  4  ฐานดังนี้
ฐานที่ 1 เป่าสี
ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ
ฐานที่ 3 พิมพ์ภาพผีเสื้อ
ฐานที่ 4 ประดิษฐ์แมลงไต่
ฐานที่ 1 เป่าสี




ฐานที่  1  เป่าสี  เป็นการเป่าสีที่ผสมน้ำยาล้างจานให้เป็นฟองแล้วให้ฟองแตกลงบนกระดาษ
เป็นรูปตามใจชอบและเมื่อสีซ้อนทับกันจะผสมให้เกิดสีใหม่  เช่นสีแดง + สีน้ำเงิน =  สีม่วง

ฐานที่ 2 ประดิษฐ์สิ่งของวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ


ฐานที่ 2 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์จากจานกระดาษ  เป็นฐานที่ให้นำจานกระดาษ
มาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใดก็ได้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อาจจะเป็นของเล่นหรือสื่อการสอน  
โดยผลงานที่ทำคือภาพทะเลแบบตั้งได้  ซึ่งสามารถนำมาสอนเกี่ยวกับเรื่อง  ลมบก  ลมทะเลได้

ฐานที่ 3 พิมพ์ภาพผีเสื้อ


ฐานที่ 3 พิมพ์ภาพผีเสื้อ  โดยใช้สีทางที่มือทั้งสองข้างแล้วพิมพ์ลงบนกระดาษ  
จากนั้นนำสีเทียนหรือปากกาเมจิกมาระบายเติมเต็มให้เปนผีเสื้อแล้วตัด  จากนั้นพับครึ่งแล้ว
นำกระดาษตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมมาติดเมื่อเวลาดังกระดาษจะทำให้เหมือนว่าผีเสื้อบินได้

ฐานที่ 4 ประดิษฐ์แมลงไต่


ฐานที่ 4 ประดิษฐ์แมลงไต่  เป็นการประดิษฐ์ของเล่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้เมื่อเราดึงเชือก
ขึ้นลงไปมาทั้งสองข้าง  เมื่อทำเสร็จแล้วช่วงแรกยังงงว่าจะทำอย่างไรให้มันเคลื่อนที่ได้เร็วๆ  แต่พอได้ลองทำก็ค้นพบวิธีที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว
การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้เช่นวิชา  วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  สนุกสนานมีความตั้งใจและทำงานได้เสร็จตรงเวลา
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆตั้งใจทำงาสนเ็นอย่างดี
  • ประเมินผู้สอน  มีการเตรียมอุปกรณ์มาอย่างดีและเป็นการสอนที่ทำให้ได้ฝึกคิดและแก้ปัญหา

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  6
วันที่  3  ตุลาคม  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • นำเสนอการเรียนการสอนแบบ STEAM 
โดยให้แต่ละหน่วยเลือก  1  กิจกรรมมาจัดแก่เพื่อนในชั้นเรียนมีทั้งหมด  5  หน่วยดังนี้

  1. หน่วยยานพาหนะ
  2. หน่วยปลา
  3. หน่วยไข่
  4. หน่วยข้าว
  5. หน่วยบ้าน
          วิธีดำเนินการ
  1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
  2. แนะนำอุปกรณ์และจำนวนที่ต้องใช้ต่อคน
  3. แนะนำกิจกรรมขั้นตอนการทำ
  4. ให้เด็กออกมารับอุปกรณ์
  5. ให้เด็กทำกิจกรรมโดยครูต้องดูและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
**กิจกรรมที่ต้องประดิษฐ์ครูควรมีตัวอย่างให้เด็กดู


หน่วย ยานพาหนะ
กิจกรรมสร้างถนนจากดินน้ำมัน
SEAM  :  Engineering, Art, Mathematic



หน่วยปลา
กิจกรรม สร้างบ่อปลาจากดินน้ำมัน
SEAM  :  Engineering, Art, Mathematic



หน่วย ไข่
กิจกรรม ระบายสี Anotomy ไข่
SEAM  :  Science, Art, Math

หน่วยข้าว1
กิจกรรม วาดรูประบายสีท้องนา
SEAM  :  Art,Engineering



หน่วยข้าว (2)
กิจกรรม วาดรูประบายสีท้องนา
SEAM  :  Art



หน่วย บ้าน
กิจกรรม วาดรูประบายสีบ้าน
SEAM  :  Engineering, Art, Math


         สรุปการนำเสนอกิจกรรม
การนำเสนอกิจกรรมที่บูรณาการ  STEAM  ผ่านกิจกรรมการสอนทำให้เกิดความเข้าใจในวิธีการจัดและวิธีการบูรณาการ  โดยรวมทุกกลุ่มสามารถสอนและนำเสนอกิจกรรมของตนเองได้เป็นอย่างดี

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำเทคนิควิธีการสอนวิธีการบูรณาการSTEAMไปใช้กับรายวิชาอื่นได้ด้วย
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ให้ความร่วมมือและตั้งใจทำกิจกรรมที่เพื่อนสอนเป็นอย่างดี
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทุกคนมีความตั้งใจ  และนำเสนอกิจกรรมได้อย่างดีเยียม
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีการเตรียมอุปกรณ์ไว้พร้อมและให้คำแนะนำเป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  5
วันที่  26  กันยายน  2559

**************สอบกลางภาค**************

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  4
วันที่  19 กันยายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • STEM & STEAM  หน่วยยานพาหนะ
โดยให่แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดกิจกรรมที่สอดคล้องกับ STEM & STEAM  มา6กิจกรรม

ภาพบรรยากาศการทำงาน

ภาพกิจกรรมฉบับแรก

ภาพกิจกรรมฉบับแก้ไขแล้ว

การนำไปประยุกต์ใช้


  • สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคิดแผนการเรียนการสอนทำให้เกิดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการอย่างครอบคลุมเด็กได้รับประสบณ์ครบถ้วน
การประเมินผล

  • ประเมินตนเอง  ช่วยเพื่อนทำงานกลุ่มให้ความร่วมมือดี
  • ประเมินเพื่อน  เพื่อนๆช่วยกันทำงานยอย่างสามัคคี
  • ประเมินผู้สอน  ผู้สอนให้คำปรึกษาและแนวทางในการคิดกิจกรรมเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่  3
วันที่  12  กันยายน  2559
ความรู้ที่ได้รับ

  • STEM/STEAM Education
         STEM เป็นการจัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ นำลักษณะทางธรรมชาติของแต่ละสาระวิชามาผสมผสานและจัดเป็นการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน   เน้นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง  รวมทั้งการพัฒนากระบวนการผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน
          STEM Education (สะเต็มศึกษา)ประกอบไปด้วย
  1. Science
  2. Technology
  3. Engineering
  4. Mathematics
1.Science (วิทยาศาสตร์)  
         -  การเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติ 
 ช่น ปรากฏการณ์ต่าง ๆ โดยผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งวิทยาศาสตร์นั้นมีเป้าหมายหลักเพื่อใช้อธิบายกฎเกณฑ์หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ตามธรรมชาติโดยใช้หลักและระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
2.Technology (เทคโนโลยี)
         -  วิทยาการที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม 
         -  สิ่งที่เราสร้างหรือพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต 
         -  ไม่ใช่มีความหมายเพียงแค่คอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงสิ่งประดิษฐ์ตามยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือรวมไปถึงเครื่องใช้ทั่วไปอย่าง ยางลบ, มีด, กรรไกร, กบเหลาดินสอ เป็นต้น
3.Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
          -  ทักษะกระบวนการในการออกแบบ สร้างแบบ รวมไปถึงการวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา โดยการใช้องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานที่ใช้งานได้จริง 
          -  กระบวนการในการทำงานของวิศวกรรมศาสตร์นั้น สามารถนำมาบูรณาการกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ได้ 
          -  ช่วยส่งเสริมทำให้เกิดการพัฒนาทางความคิดออกแบบสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น
4.Mathematic (คณิตศาสตร์)
          -  วิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการคำนวณ
          -  เป็นการเรียนรู้ในเรื่องราวของจำนวน ตัวเลข รูปแบบ ปริมาตร รูปทรงต่างๆ รวมไปถึงแบบรูปและความสัมพันธ์ (พีชคณิต) ฯลฯ 
          -  ทักษะทางคณิตศาสตร์นี้เป็นทักษะที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกแขนงวิชา เพราะเป็นศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ มีความแม่นยำ 
  • “STEM” กับการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
         “STEM” แทรกเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหน่วยที่ครูจัดขึ้น หรือเลือกตามหน่วยที่เด็กสนใจได้อย่างหลากหลาย จะทำให้เด็กสนุกกับการเรียนในห้องมากขึ้น 
การศึกษาแบบ “STEM” เป็นการศึกษาที่ช่วยทำให้เด็กอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง เปลี่ยนการเรียนแบบท่องจำมาเป็นการเรียนรู้แบบลงมือทำ ปฏิบัติจริง ทดลอง สืบค้น และใช้วัสดุอุปกรณ์ 
ทำให้เด็กได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ได้รับความสนุกสนาน และมีความสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ มากยิ่งขึ้น 
  • STEAM Education
         การนำ “STEM” มาบูรณาการกับทักษะทางศิลปะ “Art” 
เพื่อจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการในการออกแบบชิ้นงานนั้น ๆ ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
          STEAM Education (สะตีมศึกษา)ประกอบไปด้วย
  1. Science
  2. Technology
  3. Engineering
  4. Art
  5. Mathematics
  • กิจกรรมตกแต่งจานกระดาษ
แบ่งกลุ่มแล้วนำอุปกรณ์ที่ได้มาสร้างสรรค์เป็นผีเสื้อ
ภาพวัสดุอุปกรณ์

ภาพผลงานผีเสื้อ
  • กิจกรรมสร้างกรงเลี้ยงผีเสื้อ
ให้แต่ละกลุ่มนำไม้,ดอกไม้,ดินน้ำมันที่เตรียมมา  นำมาสร้างและตกแต่งกรงผีเสื้อให้สวยงามพร้อมทั้งนำผีเสื้อไปใส่ในกรง


ภาพกรงผีเสื้อที่เสร็จสมบูรณ์
  • กิจกรรมถ่ายภาพ
โดยให้แต่ละกลุ่มประดิษฐ์วงจรชีวิตของผีเสื้อด้วยดินน้ำมันแล้วถ่ายภาพเพื่อนำมาทำเป็นVDOโดยใช้โปรแกรม Stop Motion Video

ภาพไข่ผีเสือ

ภาพหนอนผีเสื้อ
  • การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถนำความรู้ไปบูรณาการในการจัดกิจกรรมการสอนเด็กได้
  • การประเมินผล
ประเมินตนเอง  วันนี้มาสาย  มีความตั้งใจในการทำงานกลุ่ม
ประเมินเพื่อน  เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและผลงานออกมาได้ดี
ประเมินผู้สอน  ผู้สอนมีกิจกรรมที่หลากหลายน่าสนใจ